อาจจะยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย แต่หลายคนก็น่าจะเคยได้ยินชื่อ “ยูนิตลิงค์” หรือ “ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked)” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคนที่สนใจทำประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูง แต่เบี้ยประกันไม่แพง มันก็น่าสนใจจริงๆ
เพราะถ้าดูจาก “ประมาณการมูลค่าเงินลงทุน” จะเห็นว่า เงินแสนสามารถกลายเป็นเงินหลายสิบล้านบาทได้ง่ายๆ แถมยังมีประกันชีวิตแบบเดียวกับประกันชีวิตแบบทั่วไปอีกด้วย เรียกว่าไม่ต้องเป็นห่วงเลยว่า แก่แล้วจะไม่มีเงินใช้ เพราะถ้าได้ผลตอบแทนตามที่ประมาณการไว้ ปีละ 5-8% แบบนี้รับรองว่า “รวยตอนแก่” และยังมีมรดกไปถึงลูกหลาน
ประกัน + กองทุน = ยูนิตลิงค์
ยูนิตลิงค์เป็นส่วนผสมกันระหว่าง “ประกันชีวิต” และ “กองทุนรวม” โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้คำจำกัดความยูนิตลิงค์ หรือ ประกันชีวิตควบการลงทุน ไว้ว่า คือ
“การประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งไม่มีการรับประกันมูลค่ากรมธรรม์ เนื่องจากมูลค่ากรมธรรม์ขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงทุน โดยอาจสูงขึ้นหรือตํ่าลงตามผลประกอบการของกองทุนรวม”
ถ้าเป็นประกันชีวิตแบบทั่วๆ ไป เบี้ยประกันที่เราจ่ายไปจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- ค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิต หรือ ค่าใช้จ่ายในการทำประกันคุ้มครองความเสี่ยง
- ต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท
- เงินออม หรือ เงินลงทุน ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำไปลงทุนและบริหารจัดการ ให้ได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นรายได้ของบริษัท และผลตอบแทนของผู้ทำประกัน
บริษัทประกันจะเป็นคนกำหนดเองว่า จะจัดสรรเงิน 3 ส่วนนี้อย่างไร โดยกรมธรรม์ที่ใส่เงินไปในส่วนที่เป็นความคุ้มครองชีวิตมากหน่อย เราก็จะได้เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตมากหน่อย นอกจากนี้ บริษัทประกันยังเป็นคนตัดสินใจในการนำเบี้ยประกันไปลงทุนว่าจะลงทุนอะไร ในสัดส่วนเท่าไร ซึ่งอาจจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ และอาจจะมีหุ้นอยู่นิดหน่อย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ บริษัทประกันจะ “รับประกัน” ผลตอบแทนที่จะให้เมื่อครบสัญญา เพราะฉะนั้นในช่วงที่ดอกเบี้ยตํ่าๆ การลงทุนของบริษัทประกันก็จะได้ผลตอบแทนน้อยไปด้วยเพราะส่วนใหญ่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ ที่มีความเสี่ยงตํ่า จึงได้ผลตอบแทนตํ่าและยังต้องรับประกันผลตอบแทนให้คนทำประกันอีก ดังนั้นผลตอบแทนที่คนทำประกันจะได้อาจจะอยู่ประมาณ 1-2% ต่อปี เท่านั้น
ในขณะที่เบี้ยประกันของยูนิตลิงค์จะแบ่งเป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกัน
- ค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิต แต่เราสามารถเลือกสัดส่วนความคุ้มครองได้เองว่า ต้องการความคุ้มครองมากน้อยแค่ไหน โดยบริษัทประกันจะนำเงินส่วนนี้ไปบริหารเอง
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าดำเนินการ ค่าดูแลรักษากรมธรรม์ และค่าบริการในการลงทุน
- เงินลงทุน ซึ่งบริษัทประกันจะไม่ได้นำไปบริหารจัดการให้ แต่จะเป็น “หน้าที่ของคนทำประกัน” ที่จะเลือกลงทุนด้วยตัวเอง โดยเลือกจากกองทุนรวม จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่บริษัทประกันคัดมาให้เลือกลงทุน
เราสามารถเลือกเองได้เลยว่า อยากจะลงทุนกองทุนอะไร สัดส่วนเท่าไร เพื่อให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ถ้ากล้าเสี่ยงไม่มากก็ลงทุนกองทุนที่มีความเสี่ยงตํ่าหน่อย แต่ถ้ากล้าเสี่ยงมากนี่จึงเป็นที่มาของโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นกว่าประกันแบบเดิมๆ ที่จะได้เพียง 1-2% ต่อปี
นอกจากนี้ ยูนิตลิงค์ยังมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะสามารถปรับเพิ่มหรือลดวงเงินความคุ้มครองสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับสถานการณ์การลงทุนและช่วงชีวิต ทั้งยังสามารถเลือกจำนวนเบี้ยที่จะจ่ายได้เอง จะเพิ่ม จะลด หรือจะพักการชำระเบี้ยก็ได้ หรือจะถอนเงินออกมาบางส่วนก็ทำได้
ยูนิตลิงค์ VS ประกันชีวิตตลอดชีพ
ย่างไรก็ตามถ้าเปรียบเทียบยูนิตลิงค์กับกองทุนรวม มีอย่างเดียวที่ทำให้ยูนิตลิงค์ได้เปรียบกองทุนรวม คือ หากเสียชีวิตก่อนครบสัญญา จะได้รับเงินเอาประกัน บวกด้วยผลตอบแทน ขณะที่การลงทุนในกองทุนรวมจะไม่มีประกัน ทายาทจะได้รับเฉพาะเงินลงทุนและผลตอบแทนที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่หากเปรียบเทียบกันในเรื่องความคล่องตัวในการลงทุน และค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้น ยูนิตลิงค์จะด้อยกว่ากองทุน โดยเฉพาะแบบชำระเบี้ยรายปีซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในปีแรกๆ และมีค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมในการบริหารกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมในการรักษากรมธรรม์ และค่าธรรมเนียมบางอย่างจะปรับเพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ การถอนเงินลงทุนออกบางส่วนจะมีค่าธรรมเนียมในการถอนเงิน และสามารถถอนได้ตามจำนวนที่บริษัทกำหนดเท่านั้น ขณะที่การลงทุนในกองทุนรวมมีค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมตํ่ากว่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุน ซึ่งจะอยู่ประมาณ 1-2% ต่อปี โดยหากเป็นกองทุนตราสารหนี้ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการจะตํ่ากว่ากองทุนหุ้นและสามารถซื้อขายได้สะดวกกว่า มีให้เลือกลงทุนมากกว่า เพราะยูนิตลิงค์จะเลือกลงทุนได้เฉพาะกองทุนที่บริษัทประกันคัดเลือกมาแล้วเท่านั้น
ยูนิตลิงค์ VS กองทุนรวม
แต่ทั้งยูนิตลิงค์และกองทุนรวมจะมีความเสี่ยงจากการลงทุนเหมือนๆ กัน โดยหากเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่ต้องเป็นห่วงมาก เพราะมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ แต่ต้องทำใจไว้ด้วยว่าในช่วงสั้นๆ สามารถขาดทุนได้ ถ้าเราต้องการความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าประกันชีวิตทั่วไป บวกกับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการทำประกันแบบเดิมบ้าง… ยูนิตลิงค์ จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ทำไมต้องเลือก…ยูนิตลิงค์ ?
1. มีความยืดหยุ่นสูง สามารถออกแบบตามความต้องการ ได้ทุกช่วงสถานะการณ์ (มีสภาพคล่อง สามารถลงทุนเพิ่มได้ หยุดพักชำระเบี้ยได้ ปรับลดเพิ่มทุนประกันได้ ถอนเงินออกจากกรมธรรม์ได้บางส่วนกรณีจำเป็น)
2. เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน ที่สูงกว่าประกันชีวิตทั่วไป
3. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน เพราะสามารถลงทุนหลายๆ กองทุนได้ภายใต้กรมธรรม์ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked) ฉบับเดียว
4. สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบได้ (ค่ารักษาพยาบาล โรคร้ายแรง และอุบัติเหตุ)
ทำไมต้องเลือก…ยูนิตลิงค์ ?
YAK.unitlink
มีความยืดหยุ่นสูง ปรับลดเพิ่มทุนประกันได้ หยุดพักชำระเบี้ยได้ ถอนเงินออกจากกรมธรรม์ได้บางส่วนกรณีจำเป็น เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน กระจายความเสี่ยงในการลงทุน และ สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติม
สามารถสอบถามเพิ่มเติมผมได้ครับ
นาย สุรัตน์ สดงาม ผู้แนะนำการลงทุน
ใบอนุญาตเลขทะเบียน 083680
📲 089-199-3466 LINE: naimoo
#UNITLINKED #AllianzAyudhya
#ยูนิตลิงค์ #อลิอันซ์อยุธยา
#YAKGURU #YAKunitlink
Source:
– สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
– วารสารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, August 2017
No Comment