“ยูนิตลิงค์” และ “ประกันชีวิตทั่วไป” ต่างกันอย่างไร?


ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked) และ ประกันชีวิตทั่วไป สามารถสรุปข้อแตกต่างได้ 6 ข้อ ด้วยกันคือ ผลตอบแทน เบี้ยประกันภัย การถอนเงิน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ คุณสมบัติผู้ขาย

ประกันชีวิตทั่วไป (Life Insurance)
ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked)

1) ผลตอบแทน

ถูกกำหนดตามแบบประกันภัย
เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทน
จากการลงทุน ซึ่งอาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้

2) เบี้ยประกันภัย

เป็นอัตราที่บริษัทกำหนดไว้และขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เลือกซื้อ เพศ และอายุ โดยคำนวณรวมเป็นจำนวนเดียวทั้งค่าใช้จ่าย ความคุ้มครอง และส่วนของการออม
สามารถเลือกจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะชำระได้เอง อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่ม/ลด หรือพักการชำระเบี้ยฯ (Premium Holiday) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

3) การถอนเงิน

ต้องทำการเวนคืนกรมธรรม์ และความคุ้มครองสิ้นสุดลง
สามารถถอนจากมูลค่าบัญชีกรมธรรม์บางส่วน โดยยังได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ที่คงเหลือเพียงพอในการหักค่าใช้จ่ายต่างๆภายใต้กรมธรรม์

4) สิทธิประโยชน์ทางภาษี

เบี้ยประกันภัยสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในส่วนของการประกันชีวิต (ไม่รวมส่วนการลงทุน) ได้ไม่เกิน 100,000 บาท

5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงาน คปภ.
ตัวแทนประกันชีวิต
บริษัทประกันชีวิต
สำนักงาน คปภ.
สำนักงาน ก.ล.ต.
ตัวแทนประกันชีวิต
บริษัทประกันชีวิต
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)

6) คุณสมบัติผู้ขาย

1. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ซึ่งได้รับการศึกษา วิชาประกันชีวิตจากสถาบันการศึกษา ที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต ได้ตามหลักสูตรและวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
2. ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
1. เป็นตัวแทนประกันชีวิต
2. ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.ให้เป็นนักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้แนะนำการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน คปภ. กำหนด
3. อบรมตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน คปภ. กำหนด
4. ขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน คปภ.

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

Premium Holiday คืออะไร

Premium Holiday คือ การให้สิทธิบริษัทประกันชีวิตในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้กรมธรรม์ อาทิเช่น ค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ โดยการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นการส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ โดยผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องส่งคำสั่งเอง และถือว่าเป็นเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัย เพื่อให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ในขณะที่ลูกค้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทประกันชีวิตต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะมีวิธีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนอย่างไร เช่น ไถ่ถอนเมื่อไร ไถ่ถอนจากกองทุนรวมใดบ้าง อย่างไรก็ตาม หากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้กรมธรรม์ กรมธรรม์จะสิ้นผลบังคับลง

ทำไมจึงต้องมีองค์กรกำกับ 2 แห่ง

เนื่องจากกรมธรรม์ยูนิตลิงค์(Unit-Linked) เป็นกรมธรรม์ที่ประกอบด้วย ส่วนของการประกันชีวิตและส่วนของการลงทุนในหน่วยลงทุน จึงทำให้ต้องมีองค์กรกำกับ 2 แห่ง นั่นคือ สำนักงาน คปภ. จะกำกับดูแลในส่วนของบริษัทประกันชีวิต และระบบการขาย / ตัวแทน ในขณะที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทจัดการ และการบริหารกองทุน และการทำหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุน

สามารถสอบถามเพิ่มเติมผมได้ครับ
นาย สุรัตน์ สดงาม ผู้แนะนำการลงทุน
ใบอนุญาตเลขทะเบียน 083680
📲 089-199-3466  LINE: naimoo

#UNITLINKED #AllianzAyudhya
#ยูนิตลิงค์ #อลิอันซ์อยุธยา
#YAKGURU #YAKunitlink

Source:
– สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

Previous ก่อนซื้อยูนิตลิงค์ ต้องเข้าใจอะไร?
Next ทำไมจึงต้อง...ยูนิตลิงค์ ?

No Comment

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *