อัพเดทพอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked) เดือน ก.พ.63


พอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked) ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1. เป็นพอร์ตยูนิตลิงค์ สำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (เริ่ม 1 ธ.ค. 2559-2599)
2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของผม สำหรับความคุ้มครองต่อเนื่อง 40 ปี
3. คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี กรมธรรม์คุ้มครองถึงสิ้นปีที่ 40 อายุ 85 ปี

สถานะพอร์ต เดือนกุมภาพันธ์ 2563
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา SCBS ออกรายงานประจำเดือนมีนาคม 2563 คาด SET ใน มี.ค. มี downside จำกัดบริเวณ 1290-1300 จุด และมีโอกาสเกิดการรีบาวด์ทางเทคนิคหลังในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลงแรงกว่า 200 จุด โดยมอง SET เริ่มมีความน่าสนใจด้านมูลค่าทางพื้นฐาน โดย SET บริเวณ 1300 จุด และอิงกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดปีนี้เติบโตในระดับ 5% SET จะเทรดที่ระดับ P/E เพียง 14.3x ดึงดูดเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาในตลาด ส่วนปัจจัยสำคัญเรามอง: 1) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนดีขึ้นมาก เหลือภายนอกจีน ซึ่งคาดจะมีมาตรการคุมเข้มเพื่อคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ขยายวงกว้าง และ 2) ประชุมกลุ่มโอเปก (ประชุม 5-6 มี.ค) ที่คาดจะมีการลดกำลังการผลิต 5-6 แสนบาร์เรล/วัน ช่วยพยุงราคาน้ำมัน และเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มพลังงาน ด้านกรอบบนของ SET มีแนวต้านที่ 1360 และ 1400 จุด

SET indexปิด 28 ก.พ. 2563 1,340.52-173.62 / -11.47%(MoM)
SET50 indexปิด 28 ก.พ. 2563 897.84-120.24 / -11.81%(MoM)

สถานะพอร์ตเดือน ก.พ. มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในพอร์ตลงทุนจริงสาธิตเพื่อความคุ้มครอง(RPP) ณ สิ้นเดือน ก.พ.2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2563) มีมูลค่า 18,275.25 บาท หักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์รายเดือน เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 (ค่าการประกันภัย 222.30 บาท และค่าธรรมเนียมรักษากรมธรรม์ 75 บาท) สถานะพอร์ตลงทุนจริงสาธิตเดือนนี้เทียบกับมูลค่าคงเหลือเงินลงทุน (เบี้ยประกันสะสมหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) เท่ากับ 21,566.40 บาท มีมูลค่าลดลง(ขาดทุน) -3,291.15 บาท หรือ -15.26%


สถานะพอร์ตสาธิต (My Unit-Linked) เดือนกุมภาพันธ์ 2563

สัดส่วนและผลตอบแทน
เปิดใช้งานปรับสัดส่วนลงทุนอัตโนมัติ (Auto Rebalance: AR) ทุกๆ 3 เดือน รอบการปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติเมื่อวันที่ 04 ธันวาคม 2562 ไม่มีการปรับสัดส่วนเนื่องจาก% การเปลี่ยนแปลงในพอร์ตไม่ถึง 1% การปรับสัดส่วนลงทุนอัตโนมัติครั้งต่อไป 04 มีนาคม 2563 สัดส่วนการลงทุนเป็น 80:20 (ตราสารทุน 80%, ตราสารหนี้ 10% และ ตลาดเงิน 10%) ซึ่งสัดส่วนแต่ละกองทุนดังนี้
1) KFMTFI สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 11.66%
2) TCMF สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 11.45%
3) TMB50 สัดส่วนพอร์ต 80% สัดส่วนปัจจุบัน 76.89%

KFMTFI สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 11.66% เพิ่มขึ้น +1.66% จำนวนหน่วยลงทุน 133.5690 หน่วย ลดลง 2.1719 หน่วย เนื่องจากมีการขายหน่วยอัตโนมัติ ไปจ่ายค่าการประกันภัยรายเดือน (COI) 2.1719 x 15.9493 = 34.6402 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน KFMTFI ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

TCMF สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 11.45% เพิ่มขึ้น +1.45% จำนวนหน่วยลงทุน 138.5435 หน่วย ลดลง 2.2536 หน่วย เนื่องจากมีการขายหน่วยอัตโนมัติ ไปจ่ายค่าการประกันภัยรายเดือน (COI) 2.2536 x 15.1090 = 34.0496 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน TCMF ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

TMB50 สัดส่วนพอร์ต 80% สัดส่วนปัจจุบัน 76.89% ลดลง -3.11% จำนวนหน่วยลงทุน 161.2314 หน่วย ลดลง 2.6231 หน่วย เนื่องจากมีการขายหน่วยอัตโนมัติ ไปจ่ายค่าการประกันภัยรายเดือน (COI) 2.6231 x 15.1090 = 228.6089 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน TMB50 ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

สรุปผลดำเนินงานพอร์ต ณ สิ้นปีกรมธรรม์ (คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี)
ปีที่ 1: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ช่วง -1% ถึง 2% ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี
ปีที่ 2: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ช่วง -1% ถึง 2% ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี
ปีที่ 3: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ช่วง -1% ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี
ปีที่ 4: อัตราผลตอบแทน -15.26% ณ สิ้นเดือน ก.พ. 2563 (ข้อมูล 2 มี.ค. 2563)

ผลตอบแทนคาดหวังพอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked)

ข้อกังวล:
กรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทยูนิตลิงค์ เริ่มทำสัญญาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 อายุ 46 ปี เพศชาย เลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง 45 เท่า จำนวนเงินเอาประกันเพื่อความคุ้มครอง 540,000 บาท สำหรับความคุ้มครองต่อเนื่อง 40 ปี (อายุ 85 ปี) คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี
1. ณ อายุ 75 ปี กรมธรรม์ปีที่ 30 เบี้ยประกันสะสม 12,000 x 30 = 360,000 บาท
2. ณ อายุ 85 ปี กรมธรรม์ปีที่ 40 เบี้ยประกันสะสม 12,000 x 40 = 480,000 บาท
3. คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี กรมธรรม์คุ้มครองถึงสิ้นปีที่ 35 อายุ 80 ปี
4. มูลค่าหน่วยลงทุนไม่เพียงพอ ตั้งแต่อายุ 81 ปี ถึงแม้ว่าจะจ่ายเบี้ยฯ ต่อเนื่องทุกปี
– ปีที่ 36 อายุ 81 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 44,514.60 บาท
– ปีที่ 37 อายุ 82 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 49,336.80 บาท
– ปีที่ 38 อายุ 83 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 54,375.00 บาท
– ปีที่ 39 อายุ 84 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 59,650.80 บาท
– ปีที่ 40 อายุ 85 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 65,202.00 บาท

แนวทางแก้ไข:
เพื่อไม่ให้กรมธรรม์สิ้นผลบังคับ เนื่องจากมูลค่าหน่วยลงทุนไม่เพียงพอ จ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนตั้งแต่อายุ 81 ปี ถึงแม้ว่าจะจ่ายเบี้ยฯ ต่อเนื่องทุกปี แนวทางแก้ไขดังนี้
1) ปรับผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี ให้สูงขึ้นเป็น 6 ~ 8% ต่อปี ซึ่งสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตสาธิตปัจจุบันผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตอยู่ในช่วง 6.63% ~ 8.32% หากเกิดปีวิกฤตอาจติดลบ -35.83% ผลตอบแทนที่ทำได้จริง -5.84% (ณ 7 ก.พ. 2563)

2) เพิ่มเบี้ย RSP ปีละ 12,000 บาท 15 ปี (ถึงอายุ 60 ปี) ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี จำนวนเงินเอาประกันจาก 540,000 บาท เพิ่มเป็น 600,000 บาท และยังคงความคุ้มครองต่อเนื่องจนถึงอายุ 90 ปี

3) เพิ่มเบี้ย TOPUP ปีละ 12,000 บาท 15 ปี (ถึงอายุ 60 ปี) ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี ยังคงความคุ้มครองต่อเนื่องจนถึงอายุ 90 ปี

4) พิจารณาเปลี่ยนแผนความคุ้มครองเป็นแบบประกันชีวิตตลอดชีพ (Whole Life) จ่ายเบี้ยฯคงที่ แต่ได้รับความคุ้มครองตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น เพศชายอายุ 46 ปี แบบประกันตลอดชีพ มาย โฮล ไลฟ์ A90/21 ทุนประกัน 540,000 บาท เบี้ยประกัน 18,940 บาท/ปี ส่งเบี้ย 21 ปี รวมเบี้ยสะสม 18,940×21 = 397,740 บาท ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 90 ปี

เพื่อรักษาเป้าหมายความคุ้มครองต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ Unit-Linked หรืออะไรก็ตาม ที่มีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เรียกว่า Auto Rebalance (AR) ควรพิจารณานำมาใช้ เพราะจะช่วยให้ได้ประโยชน์หลายประการอย่างเป็นระบบ ได้แก่ 1) ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำลง 2) รักษาระดับความเสี่ยง 3) รอทำกำไรช่วงขาขึ้น แต่ควรเลือกเวลาปรับสัดส่วนเหมาะสมตามพอร์ตการลงทุนแต่ละท่าน เร็วไปหรือช้าไปส่งผลตอพอร์ตของเราโดยรวม ผลประโยชน์ของตัวเรา ควรใส่ใจและรีวิวพอร์ตกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทยูนิตลิงค์ อย่างน้อยปีละครั้ง ปลอดภัยกว่ามาแก้ไขปัญหาในภายหลังครับ

เอกสารประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภท ยูนิต ลิงค์
(ตัวอย่างการเปรียบเทียบมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์)

ข้อเสนอ(QE) ณ ธ.ค. 2559
ื ข้อเสนอ(QE) ณ 2562

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:
⭐️ รู้จัก “ยูนิตลิงค์” คืออะไร?
⭐️ ทำไมจึงต้อง…ยูนิตลิงค์ ?
⭐️ “ยูนิตลิงค์” และ “ประกันชีวิตทั่วไป” ต่างกันอย่างไร?
⭐️ ก่อนซื้อยูนิตลิงค์ ต้องเข้าใจอะไร?
⭐️ รู้จัก “มาย สไตล์” ยูนิตลิงค์
⭐️ วิธีการทำงาน “มาย สไตล์” ยูนิตลิงค์

Source:
https://res.scbsonline.com/stocks/extra/40596_20200302151337.pdf
https://www.azay.co.th/v_1527778763000/media/product/My_Style.pdf

#Disclaimer
* ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือภาษีก่อนตัดสินใจ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

* การลงทุนในหน่วยลงทุนตามรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิต ประเภท ยูนิต ลิงค์ มีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุน ที่ผู้ขอเอาประกันภัยเป็นผู้เลือก ทั้งนี้กรมธรรม์นี้ไม่มีการรับประกันเงินส่วนที่ได้ลงทุนไป


สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
ตัวแทนผู้รับผิดชอบ สุรัตน์ สดงาม
ใบอนุญาตเลขที่ 5101050709
📲 089-199-3466  Line@ : YAKGURU
http://line.me/ti/p/%40693dbymi

#UNITLINKED #AllianzAyudhya
#ยูนิตลิงค์ #มายสไตล์ #อลิอันซ์อยุธยา
#YAKGURU #YAKunitlink

Previous ธุรกิจอะไรกำลังโดดเด่น หลังการระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 สายพันธุ์ใหม่?
Next เทียบความคุ้มครอง ซื้อออนไลน์ ประกันไวรัสโคโรนา COVID-19

No Comment

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *