ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ได้ผลตอบแทนจริง ๆ เท่าไหร่?


นี่ก็ย่างเข้าเดือนกรกฎาคม และพึ่งผ่านพ้นช่วงของการยื่นภาษีมาหมาด ๆ เพื่อน ๆ หลายคนคงต้องจ่ายภาษีกันไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยภาระภาษีที่ต้องจ่ายไปเมื่อเดือนที่ผ่านมานี้เอง ทำให้ผมเชื่อว่า หลายท่านคงเริ่มคิดถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษีกันขึ้นมาบ้าง

ลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ได้ผลตอบแทนจริง ๆ เท่าไหร่?

พอพูดถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษี คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์การเงินสุดฮิต นั่นก็คือ “ประกันสะสมทรัพย์” ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คงที่และแน่นอน แถมยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย ซึ่งหากต้องการคิดผลตอบแทนของการซื้อประกัน เพื่อการลดหย่อนภาษีจริง ๆ อาจจะต้องคิดจากผลตอบแทนที่ได้จากตัวประกันเอง และภาษีที่สามารถลดหย่อนได้ควบคู่กัน

ดังนั้น วันนี้เราจะมาลองคำนวนผลตอบแทนของประกันแบบหนึ่งโดยรวมสิทธิลดหย่อนภาษีกันดูว่า ตลอดโครงการออมเงินของคนแต่ละฐานภาษี คิดกลับมาเป็นผลตอบแทนได้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ โดยผมขออนุญาตยกตัวอย่าง

ผู้ชายอายุ 25 ปี ทำประกันสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยประกัน 100,000 บาท ต่อปี ชำระเบี้ยประกัน 20 ปี คุ้มครอง 20 ปี เลือกไม่รับเงินคืนตามสัญญา ทำให้ครบสัญญาได้เงินคืนเป็นเงิน 2,238,314.71 บาท  และเอาภาษีเงินได้ลงทุนกองทุนกับฟิลลิป โดยสมมติ ได้รับผลตอบแทน 1.6% ต่อปี แล้วรับกลับพร้อมกับเงินครบสัญญาเลยครับ

การคำนวนผลตอบแทนที่ได้จากการลดหย่อนภาษีจริง ๆ นั้นไม่ได้ได้คิดง่าย ๆ อย่างการเอาเบี้ยประกันคูณด้วยฐานภาษีนะครับ เพราะจริง ๆ แล้วผลตอบแทนที่ได้จากการลดหย่อนภาษีจะ “ลดลงทุกปี” นั่นก็เพราะเพื่อน ๆ มีการ “จ่ายเบี้ย” เพิ่มเข้าไปทุกปี หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เงินต้นเพื่อน ๆ เพิ่มขึ้นครับ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
 
ณ ฐานภาษี 10%
ปีที่ 1 จ่ายเบี้ยรวมไป 100,000 บาท ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 10,000 บาท
ปีที่ 2 จ่ายเบี้ยเพิ่มอีก 100,000 บาท เป็นเบี้ยรวม 200,000 บาท แต่สิทธิลดหย่อน ณ ปีที่ 2 ยังได้ 10,000 บาทเหมือนเดิม
 
แต่คิดแบบนี้ก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก ดังนั้น ลองมาคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้น โดยใช้การคำนวณผลตอบแทนโครงการเข้ามาจับ จากกรณีข้างต้น จะพบว่า ผลตอบแทนของแบบประกันนี้ ณ ฐานภาษี 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35 เปอร์เซ็นต์ จะเป็น 1.53%, 1.98%, 2.40%, 3.18%, 3.54%, 3.88% ตามลำดับ พอเห็นตัวเลขผลตอบแทนจริง ๆ แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงตกใจกันอยู่ไม่น้อย อย่าพึ่งตกใจครับ เพราะถ้าดูเป็นจำนวนเงิน จะประหยัดภาษีได้รวมตั้งแต่ 100,000 บาท ไปจนถึง 700,000 บาท ขึ้นกับฐานภาษีเลย
 
 
 
 
ต้องถือว่าไม่แย่เลยนะครับ หากคิดว่าเป็นผลตอบแทนที่ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องลุ้นกับความผันผวน และที่สำคัญที่ได้เพิ่มมาอีกอย่างคือ แก่นของประกัน นั่นก็คือความคุ้มครองนั่นเองครับ ซึ่งในการทำประกัน ผมอยากให้มองประกันในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้าย ประกันชีวิต ฯลฯ ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงมองต่อไปถึงเรื่องของการออม นั่นก็เพราะ ประกันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเอาไว้บริหารความเสี่ยงทางการเงิน แต่ถ้าใครสามารถรับความเสี่ยงทางการเงินเองได้ อยากใช้ออมเงินอย่างเดียวเลยก็ไม่ว่ากันครับ
 
สนใจปรึกษาการวางแผนการเงิน วางแผนภาษี คุยกับผมได้ครับ
สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ ได้ที่ Link นี้ได้เลยครับ https://bit.ly/3wPFfvj
 
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
 
 
📲 เปิดบัญชีลงทุน บล.ฟิลลิป >> https://bit.ly/3gvjZpi (ออนไลน์)
 


✅ อยากลงทุน? เปิดบัญชีลงทุนกับหลักทรัพย์ฟิลลิป เปิดบัญชีได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. เปิดบัญชีออนไลน์  >> คลิ๊กเปิดบัญชีออนไลน์
  2. ดาวน์โหลดเอกสารเปิดบัญชี >> คลิ๊กดาวน์โหลด
  3. ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ โทร. 089-199-3466

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
นาย สุรัตน์ สดงาม ผู้แนะนำการลงทุน
ใบอนุญาตเลขทะเบียน IC: 083680

🆔 LINE: http://line.me/ti/p/~naimoo
📱089-199-3466 🌐 www.yak.guru
#กองทุนประกันความ #ยักษ์กูรู


#Disclaimer

  • วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น มิได้จัดทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือภาษีก่อนตัดสินใจ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • การลงทุนมีความเสี่ยงสูงที่อาจทําให้เกิดความสูญเสียจากการซื้อขาย ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความเหมาะสมในการลงทุน โดยคํานึงถึงประสบการณ์ในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน แหล่งเงินทุน และรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

#กองทุนรวม #ออมกองทุน #ออมหุ้น
#FundSuperMart #หลักทรัพย์ฟิลลิป
#YAKGURU #YAKinvest #ยักษ์กูรู

Previous มาแล้ว! กองทุนเด่น แนะนำ DCA ครึ่งปีหลัง 64
Next กลยุทธ์ลงทุน กองทุนรวม TACTICAL CALL (12 - 16 ก.ค. 2564)

No Comment

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *