แผนการเงินปี 2020 ฉบับง่ายๆ


สวัสดีปีใหม่ ทุกท่านนะครับ
สถานการณ์เศรษฐกิจที่เรากำลังเจอกันอยู่ในปีนี้ตอบตรงๆ เลยครับว่า “เศรษฐกิจแย่” ใครก็ตามที่กำลังเริ่มต้นปีแบบไม่มีหางเสือผมว่าลำบากแน่ๆ แต่นั่นไม่ควรจะเป็นข้ออ้างโดยเด็ดขาด! เปิดใจรับพร้อมแล้วมาลุยกันเลยครับ

แผนการเงินปี 2020 ฉบับง่ายๆ อย่าไปคิดแผนอะไรให้ซับซ้อนครับ

เริ่มต้นจาก มีเงินเดือน มีรายได้ ต้องรีบจัดการหนี้สินให้เรียบก่อนเป็นอันดับแรก เก็บออมก่อนใช้เหลือเท่าไรค่อยใช้ เหลือใช้ให้เก็บเพิ่ม

รายได้ – เงินออม – หนี้สิน = รายจ่าย

ทำไมต้องเก็บออมก่อนใช้ ?
ผมขออธิบายให้เห็นภาพผ่าน “สามเหลี่ยมการเงิน” สามเหลี่ยมหรือพีระมิด คุณคิดว่าส่วนไหนสำคัญที่สุด? … ส่วนของฐานถูกไหมครับ

ทำไมส่วนฐานถึงสำคัญ ?
เพราะหากฐานแข็งแรง ด้านบนของสามเหลี่ยมหรือพีระมิดก็อยู่ได้ ภาษาทางการเงินเราจะเรียกสามเหลี่ยมหรือพีระมิดว่า “สามเหลี่ยมการเงิน” โดยเราเรียกส่วนฐานนี้ว่า (1) protection แบ่งส่วนฐานเป็น 2 ส่วน คือ

(1.1) ส่วนที่แรกว่า “เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือเรียกว่า Emergency Cash หมายถึง เงินที่ฝากเข้าถอนออกได้ตลอดเวลา ใช้เมื่อไหร่ก็ได้เมื่อฉุกเฉิน เงินสดส่วนนี้ควรจะไปอยู่ที่ธนาคาร หรือกองทุนตลาดเงิน ที่มีสภาพคล่องสูง ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนเบิกถอนได้ตลอดเวลา

ควรจะมีเงินฉุกเฉินเท่าไรดี สำหรับตัวเรา ?
ตัวเราควรจะมีเงินก็บไว้ในธนาคาร 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เพราะหากตกงาน บริษัทปิดกิจการ แม้กระทั่งเกิด accident ต้องใช้เงินเร่งด่วน จะได้มีเงินมาใช้จ่าย เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเงินก้อนนี้เก็บไว้และไม่ควรเกิน 6 เท่า เพราะเงินที่กองไว้ที่ธนาคารมากเกินไปจะเป็นเงินขี้เกียจ (Lazy money) เงินไม่โต ทำเสียโอกาส

(1.2) อีกส่วนนึงที่ควรจะอยู่ในฐานของ protection เรียกว่า “การจัดการความเสี่ยง” หรือเรียกว่า Risk management ความเสี่ยงคือ อะไรที่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับเรา และเงินสำรองฉุกเฉินเอาไม่อยู่ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ แม้กระทั่งเสียชีวิต เรื่องของเจ็บไข้ได้ป่วย ระหว่างคนอื่นจ่ายให้กับเราจ่ายเองอะไรดีกว่ากัน? คนอื่นจ่ายให้ก็ย่อมดีกว่าใช่ไหมครับ แล้วใครล่ะจ่ายให้ ก็สินค้าทางการเงินเดียวที่จะมาตอบโจทย์ สุขภาพ อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง แม้กระทั้งว่ารถพัง บ้านไฟไหม้ ก็คือประกัน ถูกไหมครับ

หลังจากเราจัดการฐานมั่นคงดีแล้ว มาดูส่วนถัดไปเรียกว่า “เงินออม” หรือเรียกว่า (2) Saving จะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ

(2.1) เงินออมระยะสั้น (short term) 0-2 ปี
เช่น เก็บเงินเที่ยวต่างประเทศปีหน้า

(2.2) เงินออมระยะกลาง (medium term) 3-10 ปี
เช่น เก็บเงินซื้อรถ เก็บเงินดาวน์บ้าน

(2.3) เงินออมระยะยาว (long term) 10 ปี ขึ้นไป
เช่น เพื่อเกษียณ การศึกษาบุตร

ถามว่าเกษียณสำคัญไหม ?
เก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศไม่ไปก็ได้ เก็บเงินซื้อรถไม่ซื้อก็ได้นั่งรถเมล์ หรือรถไฟฟ้าแทนก็ได้ แต่เราไม่เกษียณมันไม่ได้ ถ้าจะหวังพึ่งลูกหลานก็การันตีไม่ได้ลูกหลานจะพึ่งได้ ถ้าน้องยังไม่ถึงวัยเกษียณมันยังไม่น่าห่วง แต่ถ้าเกษียณแล้วไม่มีเงินมันน่าเป็นห่วงมากกว่า ส่วนตรงนี้สินค้าการเงินที่จะมาช่วยในการวางแผนเกษียณได้ก็คือ ประกันสะสมทรัพย์, ประกันบำนาญ, ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิตลิงค์), SSF/RMF หรือ กองทุนรวมทั่วไป

หากเราจัดการฐานมั่นคงดีแล้ว เรามีเงินออมเรียบร้อยแล้ว พอถึงวันเกษียญก็สบายแล้ว เก็บไข้ได้ป่วยก็มีสวัสดิการรักษา หลังจากทั้งสองส่วนเรียบร้อย ถึงจะมาทำส่วนสุดท้ายคือ (3) Investment หรือการลงทุน ถึงพูดกันว่าเอาเงินเย็นมาใช้ลงทุน เพราะว่าเงินเย็นก็คือเงินที่สามารถเอาไปกองไว้ได้โดยที่เราไม่รู้สึกอะไร ว่ามันจะเสียหาย เราก็ไม่เดือดร้อนแล้ว

แต่หลายๆ คน พอมีเงินก้อนแรก คิดอย่างเดียวจะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ ถามตัวเองก่อนที่จะเอาไปลงทุนว่ามี protection แล้วหรือยัง? ถ้าไม่มี protection เท่ากับว่าถ้าเรานำเงินไปลงทุน หรือทำแผนเกษียณ หากเกิดวันนึงน้องเป็นอะไรขึ้นมา เท่ากับว่าพอร์ตลงทุนของน้องจะไปได้ 10 ล้าน 20 ล้าน หรือ 100 ล้าน แต่ต้องมาเสียให้กับสุขภาพหมด เท่ากับการวางแผนการเงินของน้องล้มเหลว ก็เท่ากับว่าการวางแผนของที่ปรึกษาล้มเหลวด้วยเช่นกัน โดยส่วนตัวพี่จะไม่แนะนำแผนการลงทุนให้กับคนที่ไม่มี protection เลย เพราะมีเสี่ยงไม่ถึงเป้าหมายสูง ครับ

บทสรุป
อย่ายอมให้ปัจจัยภายนอกเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ของคุณเป็นอันขาด เริ่มต้นนับหนึ่งแผนการเงินในวันปีใหม่ สำหรับคนที่สนใจเรื่องเงิน และอยากที่จะเริ่มต้นควบคุมอนาคตทางการเงินของตัวเอง เริ่มจาก สามเหลี่ยมการเงิน” สามอย่างง่ายๆนี้ก่อน

  1. Protection
  2. Saving
  3. Investment

ผมมั่นใจว่าปี 2020 จะเป็นปีที่ยอดเยี่ยมของคุณอย่างแน่นอนครับ

Previous "คริสเปอร์-แคสไนน์" นวัตกรรมทางการเพทย์ใหม่ที่คุณลงทุนได้ ผ่านกองทุน PWIN
Next 2020 ลงทุนอะไรดี ?

No Comment

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *