เมื่อมีเงินก้อนระหว่าง “ลงทุน” กับ “โปะหนี้” เลือกอะไรดี?


คำถามว่าลงทุนก่อนหรือโปะหนี้ดี สำหรับเพื่อน ๆ บางคนอาจเหมือนคำถามว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน เรียกได้ว่าพอมีเงินก้อนโตหน่อยเข้ามา ก็คิดแล้วคิดอีก ไม่สามารถตัดสินใจได้สักที เพื่อให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น วันนี้มีเกณฑ์ง่าย ๆ ช่วยการตัดสินใจให้กับเพื่อน ๆ ได้นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจกันครับ

เมื่อมีเงินก้อนระหว่าง “ลงทุน” กับ “โปะหนี้” เลือกอะไรดี ?

1. ดูสัดส่วนหนี้สินและทรัพย์สิน
ก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจ อยากให้เพื่อน ๆ ลองจดรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีออกมาก่อน สำหรับทรัพย์สินนั้น ลองแยกเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง เช่น เงินสด กองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ แล้วประมาณดูคร่าว ๆ ครับ ว่ามีเงินในส่วนของทรัพย์สินเท่าไร ส่วนหนี้สิน แยกออกมาเป็นหนี้สินระยะยาว เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ กับหนี้สินระยะสั้น เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อนอกระบบ (ถ้ามี) จากนั้นคำนวณสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน โดย

สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน = (มูลค่าหนี้สินที่มี / มูลค่าทรัพย์สินที่มี) x 100

ถ้าหากมากกว่า 50% ก็เข้าเกณฑ์ที่จะพิจารณานำเงินที่ได้ไปปลดหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงลงครับ แต่หากยังไม่ถึง 50% ความเสี่ยงก็ยังอยู่ในระดับที่พอยอมรับได้ครับ

2. ดูกระแสเงินสด
หลังจากทำข้อ 1 แล้ว อยากให้เพื่อน ๆ ลองพิจารณาดูว่า กระแสเงินสดตอนนี้ “คล่อง” ดีหรือเปล่า หากสภาพคล่องไม่ดี ติดขัดตรงไหน การนำเงินไปโปะหนี้นั้น สามารถลดภาระผ่อนชำระต่อเดือนลงได้หรือไม่ หากสภาพคล่องยังไม่ดี อาจแนะนำให้เก็บเงินไว้เป็นสภาพคล่อง เพื่อลดปัญหาขาดสภาพคล่องอันนำมาสู่การสร้างหนี้เพิ่มเติมในอนาคต แต่ถ้าสภาพคล่องดีแล้ว ไปพิจารณาข้อ 3 กันต่อเลยครับ

3. ดูผลตอบแทน
เอาล่ะครับ ข้อสุดท้าย เพื่อน ๆ มาพิจารณากันว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเทียบกับอัตราดอกเบี้ยแล้ว และอย่าลืมบวกความเสี่ยงด้วยครับ เช่น หากอัตราดอกเบี้ยของหนี้ที่จะโปะ เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี แต่ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ 3% ต่อปี หรือกลับกัน อันนี้ก็คงคิดไม่ยากครับ แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยของหนี้ที่จะโปะ อยู่ที่ 3% แต่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 4-5% ต่อปี อันนี้อาจต้องมาดูความเสี่ยงเพิ่มเติมว่าความผันผวนจากการลงทุนนั้นเพื่อน ๆ รับได้หรือไม่ หากรับได้จะลงทุนก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าไม่จะนำเงินไปโปะหนี้ก็ไม่ผิดครับ

สรุปนะครับ ก่อนที่จะตัดสินใจนำเงินไปลงทุนหรือโปะหนี้ นอกจากผลตอบแทนที่จะได้แล้ว อยากให้เพื่อน ๆ คิดถึงมุมมองด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย โดยเฉพาะเรื่องของกระแสเงินสดว่าเพียงพอหรือไม่ และความเสี่ยงด้านหนี้สินของตัวเองครับ เพราะหากเรามองเฉพาะมุมมองของผลตอบแทน จนลืมความเพียงพอของกระแสเงินสดหรือความเสี่ยงด้านหนี้สินของเราแล้ว เมื่อชีวิตประสบปัญหา อาจต้องไปกู้เงินเพิ่มมากกว่าที่โปะไปเสียด้วยซ้ำ

ทิ้งท้ายเรื่อง Wealth Protection มันก็สำคัญมากๆ  ครับ เพราะโรคภัยที่ดึงเงินเราไปได้มากที่สุดมีสองเเบบ “รุนเเรงรวดเร็ว” กับ “โรคเรื้อรัง” จ่ายครั้งละไม่มาก เเต่จ่ายตลอดชีพ เช่น เบาหวาน ไตวาย เป็นต้น ถ้าเราไม่มีประกัน Cover เลย จ่ายทุกๆ ปี คิดว่าจ่ายได้ไปนานเเค่ไหนกัน ? ประกันน่ะทำไปเถอะครับ มากน้อยก็จ่ายไปตัวเเทนรอบตัวเรา คุยถูกคอคนไหนก็จัดไปเลย เพราะมันจำเป็นจริงๆ หรือทัก แม่แก้ว ออมสิน ดอทเน็ต (m.me/aomsin.net หรือ Line: https://line.me/ti/p/~0817743466) ถึงไม่ใช่หมอ แต่ตัวแทนประกันชีวิตมืออาชีพ ก็ช่วยดูแลประสานงานให้ได้ ครับ
 
หากเพื่อนๆ สนใจจะเริ่มลงทุน และอยากได้ผู้แนะนำการลงทุนที่พร้อมดูแลมือใหม่ ขอชวนมาเปิดบัญชีกับหลักทรัพย์ฟิลลิปกันนะครับ แจ้งรายละเอียดให้เราติดต่อกลับได้ที่ : https://bit.ly/2To2qyi
 
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
 
 
ลงทุนง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร! เปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ ผ่านแอป Phillip Fund SuperMart ซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยน เลือกลงทุนได้ถึง 21 บลจ. รองรับทั้งระบบ iOS และ Android อนุมัติเปิดบัญชีทางอีเมล ลงทุนได้ทันที
คลิกเลย 👉 https://bit.ly/3gvjZpi


✅ อยากลงทุน? เปิดบัญชีลงทุนกับหลักทรัพย์ฟิลลิป เปิดบัญชีได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. เปิดบัญชีออนไลน์  >> คลิ๊กเปิดบัญชีออนไลน์
  2. ดาวน์โหลดเอกสารเปิดบัญชี >> คลิ๊กดาวน์โหลด
  3. ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ โทร. 089-199-3466

  • วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น มิได้จัดทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือภาษีก่อนตัดสินใจ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • การลงทุนมีความเสี่ยงสูงที่อาจทําให้เกิดความสูญเสียจากการซื้อขาย ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความเหมาะสมในการลงทุน โดยคํานึงถึงประสบการณ์ในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน แหล่งเงินทุน และรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Previous กลยุทธ์ลงทุน กองทุนรวม TACTICAL CALL (19 - 23 ก.ค. 2564)
Next ออมหุ้นต่างประเทศ 20 หุ้นบริษัทระดับโลกชั้นนำ และ ETFs ยอดนิยม เริ่มต้นเพียง 10,000 บาท/ เดือน

No Comment

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *